จากปัญหาฝุ่นละออง และมลพิษในอากาศ นอกจากการทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศเพื่อให้ได้อากาศบริสุทธิ์แล้ว สำหรับมลพิษจากสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย(VOCs) ที่อยู่ภายในบ้าน  เช่น สีที่ใช้ทา เฟอร์นิเจอร์ น้ำยาทำความสะอาด หรือแม้แต่น้ำยาทาเล็บ เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย ซึ่งสร้างความระคายเคืองต่อผิวหนัง จมูก และลำคอ    ในกรณีที่พื้นที่นั้นมีความเข้มข้นของสารเคมีสูง จะเกิดอาการปวดหัวและเหนื่อยล้า  และยิ่งได้รับสารดังกล่าวเข้าไป เป็นจำนวนมากอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว Vadoud Niri (Associate Professor , Ph.D. in Analytical Chemistry, University of Tabriz, นักวิจัยเคมี)  Vadoud Niri  ได้บอกเราว่าต้นไม้นั้นสามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้ด้วยการฟอกอากาศ   แต่ต้นไม้หลายชนิดที่ฟอกอากาศได้ แล้วชนิดไหนล่ะ?  ที่มีประสิทธิภาพในการฟอกอากาศให้เราได้ดีที่สุด ต่อไปนี้คือผลการวิจัยของเขาครับ 

ทีมวิจัยได้นำต้นไม้ที่ได้รับการคัดเลือกว่าฟอกอากาศได้ดีที่สุด 5 ชนิด คือ Jade Plant(ต้นไม้สวรรค์ หรือ ต้นใบเงิน), spider Plant (เศรษฐีเรือนใน), Bromeliad (ต้นสับปะรดสี), Caribbean Tree Cactus(ต้นกระบองเพชร สายพันธุ์ Caribbean) , Dracaena(ต้นวาสนา)    และได้นำต้นไม้ทั้ง 5 ชนิด ไปไว้ในห้องจำลองที่เต็มไปด้วยสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย หลากหลายชนิด  จากนั้นคอยสังเกตการณ์ตลอดในช่วง 12 ชั่วโมง แล้วตรวจสอบดูว่าต้นไม้แต่ละชนิดดูดสารพิษอะไรไปบ้าง สารนั้นหายไปมากน้อยเพียงใด ผลการทดลองพบว่า Bromeliad  นั้นขจัดสารเคมีทั่วไปในอากาศได้ดีที่สุด  แต่ Dracaena ขจัดสารเคมีที่เป็น อะซีโตน (อะซีโตน : มักใช้เป็นตัวทำละลายในกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเคมี ผลิตยา ผลิตสี หมึกพิมพ์ น้ำมันขัดเงา กาว แลคเกอร์ เครื่องสำอาง)  ได้ถึง 94%  ผลสรุปตอนท้ายของการประชุม นักวิจัย ได้แนะนำว่า ต้นไม้แต่ละชนิดมีคุณสมบัติกำจัดสารเคมีแต่ละชนิดแตกต่างกัน  ฉะนั้น  วิธีที่ดีที่สุดคือ เราสามารถปลูกต้นไม้ฟอกอากาศได้หลากหลายสายพันธุ์   และที่สำคัญคือ ต้นไม้พวกนี้ ไม่ต้องใช้พลังงานใด ๆ เลย ในการฟอกอากาศ  ซึ่งเรียกได้ว่าวิธีนี้ เป็นทางเลือกสีเขียวที่แท้จริง  

Jade Plant(ต้นไม้สวรรค์ หรือ ต้นใบเงิน)

spider Plant (เศรษฐีเรือนใน)

Bromeliad (ต้นสับปะรดสี)

Caribbean Tree Cactus(ต้นกระบองเพชร สายพันธุ์ Caribbean)

Dracaena(ต้นวาสนา)    

อ้างอิง :

https://www.oswego.edu/chemistry/content/vadoud-niri
https://vadoudniri.wixsite.com/vadoudniri